หนังสือรับรองฐานะทางการเงิน

Last updated: 1 มิ.ย. 2561  |  561 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หนังสือรับรองฐานะทางการเงิน

ความเป็นมา

          จากนโยบายภาครัฐที่มุ่งให้การสนับสนุนส่งเสริมการประกอบธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ โดยส่วนหนึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากราชการอันประกอบด้วยกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ในการดำเนินการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางธุรกิจของบริษัทที่มีความประสงค์จะยื่นขอรับสิทธิประโยชน์เพื่อการอำนวยความสะดวกทางการประกอบธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ อันประกอบด้วย

สิทธิเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ระดับมาตรฐานเออีโอ (อ้างอิงโดยประกาศ กรมศุลกากร ฉบับที่ 12/2556 เรื่อง ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกระดับมาตรฐานเออีโอ) 
            
"ประกาศกรมศุลกากร ฉบับที่ 12/2556 เรื่อง ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกระดับมาตรฐานเออีโอ"  

      สิทธิประโยชน์ประเภทสิทธิลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากร และการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
           "ประกาศกรมศุลกากร เรื่อง การลดอัตราอากร และการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 (19 ทวิ)"  

สิทธิประโยชน์จัดระดับเป็นผู้ส่งออกที่ดี และ สิทธิประโยชน์จัดระดับเป็นผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน กรมสรรพากร
           "ประกาศกรมสรรพากร ที่ ท.128/2560 เรื่องหลักเกณฑ์การจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี และผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน" 

 


ขั้นตอนการยืนขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน ส.อ.ท.

    1.  กรอกแบบข้อมูลประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองฐานะการเงินตามประเภทที่มีความประสงค์ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการพิจารณาตามระเบียบปฏิบัติที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด

    2. ยื่นแบบข้อมูลพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณามายังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กรณี ผู้ประกอบการต่างจังหวัดสามารถยื่นเรื่องได้ที่สภาอุตสาหกรรมภายในจังหวัดของท่านที่ได้รับมอบสิทธิการดำเนินการจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการยื่นเรื่องต่างๆ สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง ดังนี้ 1) การยื่นเรื่องด้วยตนเอง และ 2) การยื่นเรื่องผ่านทางไปรษณีย์

    3.เจ้าหน้าที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย / สภาอุตสาหกรรมจังหวัดจะทำการรับเรื่อง และตรวจสอบความครบถ้วน ความถูกต้องของเอกสาร

     4.กระบวนการขั้นตอนการพิจารณา โดยกำหนดในรูปการประชุมคณะกรรมการ / คณะทำงาน ซึ่งมีการประชุมพิจารณาทุกเดือน

     5.เจ้าหน้าที่ทำการแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ประกอบการรับทราบ

     6.การชำระค่าหนังสือรับรองฐานะการเงิน แบ่งเป็น 2 อัตรา ดังนี้ 

  • สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (รวม VAT)
  • ผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าธรรมเนียม 1,200 บาท (รวม VAT) พร้อมรับหนังสือรับรองฐานะการเงิน โดยสามารถทำการชำระผ่านทางธนาคาร หรือ ทำการชำระด้วยตนเอง ณ ที่ทำการของสำนักงานสภาอุตสาหกรรมฯ นั้นๆ  

แบบฟอร์มและรายละเอียดการยื่นขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน
   1.สิทธิเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ระดับมาตรฐานเออีโอ ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 12/2556  

      1.1 ได้ใบรับรองสถานภาพการเป้นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต

      1.2 การนำของเข้า - การส่งของออก ให้ผ่านการตรวจสอบใบขนสินค้าทางช่องเขียว (Green Line) ของระบบ EDI รวมถึง ได้รับยกเว้นกระบวนการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร เว้นแต่การสุ่มตรวจ

     1.3 หากสินค้าต้องถูกตรวจทางกายภาพจะได้รับการอำนวยความสะดวกโดยรับการตรวจในลำดับแรกๆ

     1.4 สินค้าที่ส่งออกจะได้รับการยอมรับจากศุลกากรต่างประเทศ

     1.5 สิทธิพิเศษอื่นๆ ตามประกาศกรมศุลกากรกำหนด

  • แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือฐานะการเงิน 
  • เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน 
  • หนังสือรับรองบริษัท (ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท)  
  • ตัวอย่างหนังสือรับรองวงเงินเครดิตจากธนาคาร 
  • ตัวอย่างรายงานแสดงข้อมูลยอดการนำเข้า-ส่งออก ในรอบ 3 ปี     

2.สิทธิประโยชน์ขอลดอัตราอากรนำเข้ากึ่งหนึ่งตามมาตรา 19 ทวิ กรมศุลกากร

     วัตถุดิบหรือสินค้าไม่ว่าจะจัดอยู่ในพิกัดประเภทใดที่นำเข้ามาใช้ผลิต ผสม ประกอบ หรือ บรรจุ เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายในหนึ่งปี นับตั้งแต่วันนำเข้าแล้วขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ สามารถลดอัตราอากรลงเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดเรียกเก็บเป็นการทั่วไป

  • แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือฐานะการเงิน 
  • เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน 
  • หนังสือรับรองบริษัท (ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท)
  • ตัวอย่างหนังสือรับรองวงเงินเครดิตจากธนาคาร 
  • ตัวอย่างรายงานแสดงข้อมูลยอดการนำเข้า-ส่งออก ในรอบ 3 ปี 

    3. สิทธิประโยชน์จัดระดับเป็นผู้ส่งออกที่ดี กรมสรรพากร 

       3.1 ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวดเร็วขึ้น

          - ยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วัน
          - ยื่นแบบ ภ.พ.30 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 45 วัน

      3.2 การได้รับการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ จากกรมสรรพากร และการรับข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

  • แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือฐานะการเงิน 
  • หนังสือรับรองบริษัท (ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท) 
  • เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน  

  4. สิทธิประโยชน์การเป็นผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน กรมสรรพากร

      4.1 ผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวดเร็วขึ้น

  • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน
  • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 60 วัน

        4.2 การได้รับการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ จากกรมสรรพากร และการรับข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

  • แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือฐานะการเงิน 
  • หนังสือรับรองบริษัท (ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท) 
  • เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน  

กำหนดการส่งเอกสาร / การพิจารณา / วันรับหนังสือรับรอง 
ตารางวันประชุม / พิจารณา คณะทำงานพิจารณาฐานะการเงิน ประจำปี 2561    
(กรุณาส่งเอกสารก่อนล่วงหน้าวันพิจารณา อย่างน้อย 7 วันทำการ ) 

วิธีการยื่นเอกสาร  
          1. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์
              จ่าหน้าซอง งานออกหนังสือรับรองฐานะการเงิน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
              ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซนซี ชั้น 4
              เลขที่ 60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
              หมายเหตุ : วงเล็บมุมซองว่า เอกสารพิจารณาฐานะการเงิน

          2. ส่งเอกสารด้วยตนเอง
              ติดต่อนางสาวภัทริตา ทองพูลเอียด ฝ่ายบริหารองค์กร 
              สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โซนซี ชั้น 3 
             ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์)
 
              การประชุมคณะทำงานพิจารณาฐานะการเงินจะมีการประชุมพิจารณาเดือนละ 2 ครั้ง และหากไม่มีข้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมประการใด เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้สามารถรับเอกสารพร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียม ทางโทรศัพท์

วิธีการชำระเงิน  
           1. กรณีการขอรับเอกสารทางไปรษณีย์ (EMS)
              โอนค่าธรรมเนียม สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (รวม VAT)  และสำหรับผู้ประกอบการทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าธรรมเนียม 1,200 บาท (รวม VAT) รายละเอียดตามเอกสารแนบ (Click) พร้อมแฟกซ์ใบ pay in มายังหมายเลขโทรสาร 0-2345-1296 เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารแฟกซ์เรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการจัดส่งหนังสือรับรองฐานะการเงินไปให้ทางไปรษณีย์ (EMS)

           หมายเหตุ : หนังสือรับรองฐานะการเงินจะสามารถจัดส่งให้ทางไปรษณีย์หรือแฟกซ์ให้บริษัท หลังจากได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

          2. ชำระเงินด้วยตนเอง
              กรณีมารับเอกสารด้วยตนเอง ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้รับส่งเอกสารมารับเอกสารพร้อมกับนำเงินมาชำระที่ชั้น 3 โซนซี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์)  

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

นางสาวภัทริตา ทองพูลเอียด
ฝ่ายบริหารองค์กร  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ :  0 2345 1147
อีเมล์ : phattaritat@off.fti.or.th

การติดต่อสอบถามการขอยื่นแบบ
    1. กรมสรรพากร (The Revenue Department)
         ที่ตั้ง :  90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน
                  แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
     เว็บไซต์ :  http://www.rd.go.th
    โทรศัพท์ :  0-2272-8035  0-2272-8543  0-2272-9122   0-2272-9696  0-2617-3551

   2. กรมศุลกากร (Thai Customs Department)
         ที่ตั้ง :  1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
     เว็บไซต์ :  http://www.customs.go.th/
 
        2.1 ส่วนมาตรฐานเออีโอ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร 
          http://www.aeothai.com/
          โทรศัพท์ 02-667-7168, 02-667-7902
          E-mail; aeodiv2014@gmail.com
 
       2.2 กรณีสิทธิประโยชน์ 19 ทวิฯ
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
 
ฝ่ายคืนอากรที่ 1
 
ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทอาหารแปรรูป พลาสติกและเคมีภัณฑ์
 
(พิกัดฯ ตอนที่ 1-39) โทรศัพท์ 02-667-7485
 
ฝ่ายคืนอากรที่ 2
 
ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทสิ่งทอและเครื่องหนัง
 
(พิกัดฯ ตอนที่ 40-63) โทรศัพท์ 02-667-7034
 
ฝ่ายคืนอากรที่ 3
 
ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทผลิตภัณฑ์อื่นๆ
 
(พิกัดฯ ตอนที่ 64-83 และ 93-97) โทรศัพท์ 02-667-7061
 
ฝ่ายคืนอากรที่ 4
 
ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
 
และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์
 
(พิกัดฯ ตอนที่ 84-85 และ 90-92) โทรศัพท์ 02-667-7255
 
ฝ่ายคืนอากรที่ 5
 
ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทยานยนต์และส่วนประกอบยานยนต์
 
(พิกัดฯ ตอนที่ 86-89) โทรศัพท์02-667-7275


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้